2. เมื่อน้ำลดแล้วแต่ดินยังหมาดหรือเปียกอยู่ห้ามเดินย่ำผิวดินในสวนโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบๆ ราก ยังอิ่มตัว ด้วยน้ำ หากเข้าไปเหยียบย่ำ ระบบรากของต้นไม้ซึ่งอ่อนแออยู่แล้วจะได้รับความกระทบกระเทือนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นไม้ อาจตายได้ ควรปล่อยไว้สัก 2-3 วัน จนหน้าดินแห้งก่อน จึงค่อยเดินเข้าไปในสวน
3. ระยะนี้ถ้ามีเครื่องเติมอากาศลงสู่ดิน ควรเร่งดำเนินการด่วนจะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และยังเป็นการช่วย ไล่น้ำที่ยังคงค้างอยู่ในดินให้ระบายออกไปเร็วขึ้นด้วย
4. สวนไม้ผล ซึ่งปลูกในที่ลุ่มที่ไม่สามารถเสริมคันดินกั้นน้ำได้ จำเป็นต้องปล่อยให้มีน้ำท่วมขังอยู่จนกว่าน้ำจะลด หากปล่อยไว้ในสภาพนี้นาน ๆ จะทำให้ต้นไม้ตายได้ทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือการใช้เครื่องอัดอากาศเพิ่มออกซิเจนให้ละลายในน้ำ มากขึ้น หรือใช้เครื่องยนต์ที่มีกังหันน้ำเพื่อให้น้ำท่วมขังมีการเคลื่อนไหวถ่ายเท เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้ละลายในน้ำมากที่สุด เพื่อระบบรากสามารถนำไปใช้ได้จนกว่าน้ำจะลด
5. เมื่อน้ำลดแล้วไม่ควรใส่ปุ๋ยทางดิน เพราะระบบรากเสียหายเกือบหมดแล้ว การที่จะสร้างระบบรากใหม่ขึ้นมา จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานและไม่ทันกับเหตุการณ์ จึงควรใช้ปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้
N-P-K ประมาณ 1.2-1.5:1 (เช่น 15-10-10 หรือ 25-20-20 หรือสูตรใกล้เคียงกัน) จำนวน 20 กรัม
ธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น แมกนีเซียม สังกะสี และธาตุอาหารรอง จำนวน 20 กรัม
น้ำตาลทราย จำนวน 200 กรัม
สารป้องกันกำจัดเชื้อรา จำนวน 45 กรัม
น้ำเปล่า 20 ลิตร
ผสมให้เข้ากันทำการฉีดพ่นให้กับต้นไม้ผล 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน/ครั้ง หากต้นไม้ผลมีการผลิใบอ่อนขึ้นมาใหม่ และสามารถอยู่ได้จนกระทั่งใบเพสลาดแสดงว่าระบบรากสามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว แต่ถ้ามีดอกและผลตามมาควรกำจัดออกตั้งแต่ระยะออกดอกให้เร็วที่สุด เพื่อรักษาต้นแม่เอาไว้
6. ถ้ามีโคลนทับถมในสวนให้ทำการขุดลอกดินโคลนออกให้พ้นบริเวณทรงพุ่มและให้ลึกถึงระดับดินเดิม เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น โดยใช้จอบหรือเสียม
7. ไม่ควรใช้เครื่องมือหนัก เช่น รถแทรกเตอร์เข้าปฏิบัติการเพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบรากของต้นไม้ ที่อ่อนแออยู่แล้ว ให้เกิดความบอบช้ำมากยิ่งขึ้น
8. ต้นไม้ผลบางชนิดที่เป็นโรคง่าย เช่น ส้มเขียวหวาน ทุเรียน หากมีกิ่งหรือลำต้นฉีกขาดหรือเกิดบาดแผลขึ้น ต้องรีบทำการตัดแต่งและทายาฆ่าเชื้อรา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าทันที
9.
หากต้นไม้ผลเอนเนื่องจากน้ำพัด ให้ใช้เชือกหรือลวดดึงลำต้นให้ตรง โดยยึดไว้กับหลัก แล้วทำการตัดแต่งกิ่ง ออกประมาณ 1 ใน 3 เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
10. ทำการตัดแต่งกิ่งล่าง ที่มีคราบน้ำและโคลนเกรอะกรังออกเนื่องจากโคลนหรือดินที่เกาะอยู่จะไปอุดรูหายใจ ที่ใบ ทำให้การหายใจ คายน้ำและปรุงอาหารของใบทำไม่ได้ตามปกติ
11. ตัดแต่งกิ่งบริเวณโคนต้นออกเพื่อเปิดช่องทางให้แสงแดดส่องเข้าไปในบริเวณโคนต้นไม้ผลได้สะดวก ซึ่งจะมีผลทำให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็วยิ่งขึ้น
12. การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (โรค-แมลง) ตลอดจนปุ๋ยทางใบ ควรใช้ในอัตราต่ำเนื่องจากต้นไม้ผล ยังอยู่ในสภาพที่ ไม่แข็งแรง
|