โรคและแมลงที่สำคัญ
|
 |
1. โรครากเน่า
เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง
จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง
เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย
และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด
และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด |
-
เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย
รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
- ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
- ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม
ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
|
 |
2. โรคแอนแทรกโนส
เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ
และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด
แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน
เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ
บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ
ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง
เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง |
การป้องกันกำจัด |
ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45
|
3. โรครากปม
เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น
คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร
ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้
เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป
ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่
การป้องกันกำจัด
-
ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
- ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล |